วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

การทำนากับคนไทย

การทำนากับคนไทย

วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของคนไทยในทุกภาค มีพื้นจากการเป็นสังคมเกษตรกรรม เป็น สังคมที่ผสมผสานคติความเชื่อพื้นเมือง เช่น การนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นับถือธรรมชาติ เข้ากับคติความเชื่อ ทางศาสนา การเป็นสังคมเกษตรของไทยในอดีต คือการเกษตรแบบยังชีพ การทำนาเป็นอาชีพหลัก ใน อดีตเป็นการทำนาที่ใช้แรงงานคนในครอบครัวและแรงงานสัตว์เป็นหลัก พึ่งพาน้ำฝนและน้ำในแม่น้ำลำ คลองในการเพาะปลูก และใช้ในชีวิตประจำวัน ลักษณะการดำรงชีวิตที่ต้องพึงพาธรรมชาติ และพึ่งพาตน เอง ทำให้ชาวบ้านเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันและพึ่งพากัน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคงเป็นสุข
วัฒนธรรมแบบสังคมเกษตรของคนไทยมีลักษณะเด่น คือ เป็น สังคมที่มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือกัน มีการนับญาติกันอย่าง สนิทสนม เช่น ใช้คำว่า ปู่ ย่าลุง ป้า น้า พี่ เรียกผู้สูงอายุที่ไม่รู้จักกัน หรือไม่ใช่ญาติ มีการยกย่องธรรมชาติและสิ่งที่มีบุญคุณ เช่น การทำ ขวัญพระแม่โพสพ การลอยกระทง เพื่อขอบคุณและขอขมาพระแม่ คงคา การนับถือพระแม่ธรณี การทำขวัญโค-กระบือ มีการร่วมมือกัน ในสังคม เช่น การขอแรงเพื่อนบ้านมาช่วยกันทำงาน เมื่อแรงงาน ภายในครอบครัวไม่เพียงพอ เช่น การลงแขก การขอแรง การเอาแรง เอามือ เอาปากกินหวาน เพื่อช่วยกันทำงานในนา ปลูกสร้างบ้าน โดยเป็นการแลกเปลี่ยนหมุนเวียน แรงงานในชุมชน โดยที่ไม่ต้องใช้   การว่าจ้างเจ้าของงานมีหน้าที่เพียงดูแลเรื่องอาหารการกินให้เพียง พอแก่ผู้มาช่วยงาน







 การทำงานในไร่นาที่เหน็ดเหนื่อย ทำให้มีการสร้างสรรค์การละ เล่น การร้องรำทำเพลงเพื่อผ่อนคลาย และสร้างความสัมพันธ์ต่อกัน ภายชุมชน จนเป็นการละเล่นและเพลงพื้นบ้าน ที่ถือเป็นมรดกทาง วัฒนธรรมในท้องถิ่นและประเทศ เช่น ซอและ จ๊อยของภาค เหนือ เพลงเรือ”  “เพลงฉ่อย”  “เพลงเหย่ย”  ของภาคกลาง ลำของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ เพลงบอกของภาคใต้


        สำหรับการทำนาในประเทศไทยมีปัจจัยหลัก 2 ประการ     เป็นพื้นฐานของการทำนาและเป็นตัวกำหนดวิธี การปลูกข้าวและพันธุ์ข้าวที่จะใช้ในการทำนาด้วยหลัก 2 ประการ คือ 
            1. สภาพพื้นที่ ( ลักษณะเป็นพื้นที่สูงหรือต่ำ ) และภูมิอากาศ
            2. สภาพน้ำสำหรับการทำนา

        ฤดูทำนาปีในประเทศไทยปกติจะเริ่มราวเดือนพฤษภาคมถึงกรกฏาคมของทุกปี ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน เมื่อ 3 เดือนผ่านไปข้าวที่ปักดำหรือหว่านเอาไว้จะสุกงอมเต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยว ส่วนนาปรัง สามารถทำได้ตลอดปีเพราะพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกเป็นพันธุ์ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง เมื่อข้าวเจริญเติบโตครบกำหนดอายุก็จะสามารถเก็บเกี่ยวได้ 


การทำนามีหลักสำคัญ คือ

          1. การเตรียมดิน ก่อนการทำนาจะมีการเตรียมดินอยู่ 3 ขั้นตอน

- การไถดะ เป็นการไถครั้งแรกตามแนวยาวของพื้นที่กระทงนา (กรณีที่แปลงนาเป็นกระทงย่อยๆ หลายกระทงในหนึ่งแปลงนา) เมื่อไถดะจะช่วยพลิกดินเพื่อให้ดินชั้นล่างได้ขึ้นมาสัมผัสอากาศ ออกซิเจน และเป็นการตากดินเพื่อทำลายวัชพืช โรคพืชบางชนิด การไถดะจะเริ่มทำเมื่อฝนตกครั้งแรกในปีฤดูกาลใหม่ หลังจากไถดะจะตากดินเอาไว้ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์

- การไถแปร หลังจากที่ตากดินเอาไว้พอสมควรแล้ว การไถแปรจะช่วยพลิกดินที่กลบเอาขึ้นการอีกครั้ง เพื่อทำลายวัชพืชที่ขึ้นใหม่
และเป็นการย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง จำนวนครั้งของการไถแปรจึงขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของวัชพืช ลักษณะดินและระดับน้ำในพื้นที่ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนด้วย แต่โดยทั่วไปแล้วจะไถแปรเพียงครั้งเดียว

- การคราด เพื่อเอาเศษวัชพืชออกจากกระทงนา และย่อยดินให้มีขนาดเล็กลงอีก จนเหมาะแก่การเจริญของข้าว ทั้งยังเป็นการปรับระดับพื้นที่ให้มีความสม่ำเสมอ เพื่อสะดวกในการควบคุม ดูแลการให้น้ำ

          2. การปลูก การปลูกข้าวสามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ การปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง ได้แก่

- การทำนาหยอดและนาหว่านและการเพาะเมล็ดในที่หนึ่งก่อน แล้วนำต้นอ่อนไปปลูกในที่อื่นๆ ได้แก่ การทำนาดำ การทำนาหยอด ใช้กับการปลูกข้าวไร่ตามเชิงเขาหรือในที่สูงวิธีการปลูก หลังการเตรียมดินให้ขุดหลุมหรือทำร่อง แล้วจึงหยอดเมล็ดลงในหลุมหรือร่อง จากนั้นกลบหลุมหรือร่อง เมื่อต้นข้าวงอกแล้วต้องดูแลกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช





การทำนาหว่าน ทำในพื้นที่ควบคุมน้ำได้ลำบาก วิธีหว่าน ทำได้ 2 วิธี คือ

        - การหว่านข้าวแห้ง 
         -การหว่านข้าวงอก


การหว่านข้าวแห้ง แบ่งตามช่วงระยะเวลาของการหว่านได้ 3 วิธี คือ
          - การหว่านหลังขี้ไถ ใช้ในกรณีที่ฝนมาล่าช้าและตกชุก มีเวลาเตรียมดินน้อย จึงมีการไถดะเพียงครั้งเดียวและไถแปรอีกครั้งหนึ่งแล้วหว่านเมล็ดข้าวลงหลังขี้ไถ เมล็ดพันธุ์อาจเสียหายเพราะหนู และอาจมีวัชพืชในแปลงนามาก
การหว่านคราดกลบ เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด จะทำหลังจากที่ไถแปรครั้งสุดท้ายแล้วคราดกลบ จะได้ต้นข้าวที่งอกสม่ำเสมอการหว่านไถกลบ มักทำเมื่อถึงระยะเวลาที่ต้องหว่าน    แต่ฝนยังไม่ตกและดินมีความชื้นพอควร หว่านเมล็ดข้าวหลังขี้ไถแล้วไถแปรอีกครั้ง เมล็ดข้าวที่หว่านจะอยู่ลึกและเริ่มงอกโดยอาศัยความชื้นในดิน


         - การหว่านข้าวงอก (หว่านน้ำตม) เป็นการหว่านเมล็ดข้าวที่ถูกเพาะให้รากงอกก่อนที่จะนำไปหว่านในที่ที่มีน้ำท่วมขัง เพราะหากไม่เพาะเมล็ดเสียก่อน เมื่อหว่านแล้วเมล็ดข้าวอาจเน่าเสียได้ การเพาะข้าวทอดกล้า ทำโดยการเอาเมล็ดข้าวใส่กระบุงไปแช่น้ำเพื่อให้เมล็ดที่มีน้ำหนักเบาหรือลีบลอยขึ้นมาแล้วคัดทิ้ง แล้วนำเมล็ดถ่ายลงในกระบุงที่มีหญ้าแห้งกรุไว้หมั่นรดน้ำเรื่อยไป อย่าให้ข้าวแตกหน่อแล้วนำไปหว่านในที่นาที่เตรียมดินไว้แล้ว


         -การทำนาดำ เป็นการปลูกข้าวโดยเพาะเมล็ดให้งอกและเจริญเติบโตในระยะหนึ่ง แล้วย้ายไปปลูกในที่หนึ่ง สามารถควบคุมระดับน้ำ วัชพืชได้ การทำนาดำแบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอน คือ
- การตกกล้า เพาะเมล็ดข้าวเปลือกให้มีรากงอกยาว 3 - 5 มิลลิเมตร นำไปหว่านในแปลงกล้า ช่วงระยะ 7 วันแรก ต้องควบคุมน้ำไม่ให้ท่วมแปลงกล้า และจะสามารถถอนกล้าไปปักดำได้เมื่อมีอายุประมาณ 20 - 30 วัน

- การปักดำ ชาวนาจะนำกล้าที่ถอนแล้วไปปักดำในแปลงปักดำ ระยะห่างระหว่างกล้าแต่ละหลุมจะมีความแตกต่างกันขึ้นกับลักษณะของดิน คือ ถ้าเป็นนาลุ่มปักดำระยะห่าง เพราะข้าวจะแตกกอใหญ่ แต่ถ้าเป็นนาดอนปักดำค่อนข้างถี่ เพราะข้าวจะไม่ค่อยแตกกอ
             3. การเก็บเกี่ยว      หลังจากที่ข้าวออกดอกหรือออกรวงประมาณ 20 วัน ชาวนาจะเร่งระบายน้ำออก เพื่อเป็นการเร่งให้ข้าวสุกพร้อมๆ กัน และทำให้เมล็ดมีความชื้นไม่สูงเกินไป จะสามารถเก็บเกี่ยวได้หลังจากระบายน้ำออกประมาณ 10 วันระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยว เรียกว่า ระยะพลับพลึง คือสังเกตที่ปลายรวงจะมีสีเหลือง กลางรวงเป็นสีตองอ่อน การเก็บเกี่ยวในระยะนี้จะได้เมล็ดข้าวที่มีความแข็งแกร่ง มีน้ำหนัก และมีคุณภาพในการสี 




           4. การนวดข้าว   หลังจากตากข้าว ชาวนาจะขนเข้ามาในลานนวด จากนั้นก็นวดเอาเมล็ดข้าวออกจากรวง บางแห่งใช้แรงงานคน บางแห่งใช้ควายหรือวัวย่ำ แต่ปัจจุบันมีการใช้เครื่องนวดข้าวมาช่วยในการนวด 




            5. การเก็บรักษา     เมล็ดข้าวที่นวดฝัดทำความสะอาดแล้วควรตากให้มีความชื้นประมาณ 14% จึงนำเข้าเก็บในยุ้งฉาง ยุ้งฉางที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ อยู่ในสภาพที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก การใช้ลวดตาข่ายกั้นให้มีร่องระบายอากาศกลางยุ้งฉางจะช่วยให้การถ่ายเทอากศดียิ่งขึ้น คุณภาพเมล็ดข้าวจะคงสภาพดีอยู่นาน อยู่ใกล้บริเวณบ้านและติดถนน สามารถขนส่งได้สะดวกเมล็ดข้าวที่จะเก็บไว้ทำพันธุ์ ต้องแยกจากเมล็ดข้าวบริโภค โดยอาจบรรจุกระสอบ มีป้ายบอกวันบรรจุ และชื่อพันธุ์แยกไว้ส่วนใดส่วนหนึ่งในยุ้งฉาง เพื่อสะดวกในการขนย้ายไปปลูก ก่อนนำข้าวเข้าเก็บรักษา ควรตรวจสภาพยุ้งฉางทุกครั้ง ทั้งเรื่องความะอาดและสภาพของยุ้งฉางซึ่งอาจมีร่องรอยของหนูกัดแทะจนทำให้นกสามารถรอดเข้าไปจิกกินข้าวได้ รูหรือร่องต่าง ๆ ที่ปิดไม่สนิทเหล่านี้ต้องได้รับการซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อน 



     พิธีกรรมศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำนา
        

                   เป็นการรวมพระราชพิธี 2 พิธีเข้าด้วยกันคือ พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีสงฆ์ จัดขึ้นเป็นการทำขวัญเมล็ดพืชพันธุ์ต่างๆ เช่น ข้าวเปลือก ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่ว งา เผือก มัน และพืชอื่นๆ เพื่อให้พืชผลเหล่านี้เจริญงอกงาม ปราศจากโรค และแมลงศัตรูพืชรบกวน กับอีกพิธีหนึ่งคือ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญหรือ พิธีแรกนาหรือ แรกนาขวัญซึ่งเป็นพิธีพราหมณ์ที่มีมาหลายพันปีแล้ว และมีในหลายชาติ เช่น จีน อินเดีย เป็นต้น จัดขึ้นเพื่อเป็นพิธีแรกไถก่อนที่ชาวนาจะทำพิธีแรกนาในนาข้าวของตนเอง เสมือนหนึ่งเป็นสัญญาณเตือนเพื่อบอกว่า เวลาแห่งการทำนาได้มาถึงแล้ว ให้ชาวนาเตรียมตัวให้พร้อมในการทำนา สืบเนื่องจากคนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ทั้งยังปลูกข้าวเป็นอาชีพ จึงมีความสำคัญยิ่งในการดำรงชีวิต





     พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ”   เป็นพระราชพิธีที่มีความสำคัญในการสร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกร และเตือนให้เริ่มการทำนา เป็นพระราชพิธีที่ถือปฏิบัติมาแต่โบราณโดยปรากฏหลักฐานชัดเจนในสมัยสุโขทัย ตามหลักฐานในหนังสือเรื่องนางนพมาศ และได้ถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง แม้แต่ประมุขของชาติ คือพระมหากษัตริย์ทรงเห็นความสำคัญของพิธีนี้ เมื่อถึงเวลาเริ่มทำการเพาะปลูกพืชผล จึงต้องประกอบพระราชกรณียกิจ เป็นผู้นำโดยลงมือไถหว่านพืชพันธุ์ธัญญาหาร เพื่อเป็นกำลังใจให้ชาวนาไทยสืบมา

      พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ    ในประเทศไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ก่อนรัชกาลที่ 4 นั้นจะเป็นเพียงการประกอบพิธีพราหมณ์ ไม่มีพิธีสงฆ์ ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้น ยกเป็นพิธีหนึ่งต่างหากเรียกว่า พืชมงคลแล้วเรียกชื่อรวมว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นราชประเพณีสืบมา โดยในสมัยรัชกาลที่ 4 ทั้ง 2 พิธีจะทำแยกกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคลทำที่ทุ่งพระเมรุ(สนามหลวง ในปัจจุบัน) ส่วนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญทำที่ทุ่งส้มป่อย นอกพระนคร (บริเวณสนามม้าราชตฤณมัย หรือสนามม้านางเลิ้ง ในปัจจุบัน) โดยใช้ฤกษ์เดียวกันและวันเดียวกัน โดยพระยาแรกนาขวัญกับเทพีทั้ง 4 จะเข้าฟังพระสงฆ์สวดในปะรำพิธีพืชมงคลก่อน แล้วจึงไปกราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงเริ่มพิธีแรกนา ในสมัยปัจจุบันการจัดงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญจะจัดให้มีขึ้น 2 วันติดต่อกัน วันแรกเป็นพระราชพิธีพืชมงคล ในวันรุ่งขึ้นเป็นพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

       
       พิธีสู่ขวัญข้าว หรือ เอาขวัญข้าว    เป็นการบอกกล่าวก่อนที่จะทำการตี หรือนวดข้าวบางแห่งก็ทำหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จเรียบร้อยก่อนจะเอาขึ้นหลอง(ยุ้งฉาง) ถือเป็นการอันเชิญขวัญข้าวมาสู่ยุ้งฉาง บางแห่งจะทำหลังการเก็บเกี่ยวเสร็จเรียบร้อย ถือเป็นการเรียกขวัญข้าวที่ตกหล่นในขณะนวดข้าว พิธีสู่ขวัญข้าว     จะทำในลานนวดข้าว หรือบางแห่งก็จะทำในสถานที่เดียวกันกับที่ทำพิธีแรกนา ในการทำพิธีจะจัดเตรียมพานบายศรี 1 ชุด ไก่ต้ม 1 คู่ เหล้า 2 ไห ข้าวตอกดอกไม้ 2 ชุด ข้าวเหนียว 1 กระติบ หมาก พลู เมี่ยง บุหรี่ 1 ชุด โดยเจ้าของนาอาจเป็นผู้กล่าวคำสังเวยด้วยตนเอง หรือให้ผู้เชี่ยวชาญทางพิธีกรรม(ปู่จารย์) ของหมู่บ้านมาทำพิธีให้

              

ประเพณีบุญบั้งไฟ ประวัติความเป็นมาของบุญบั้งไฟ


ประวัติความเป็นมาของบุญบั้งไฟ 
       ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทางพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ ช่วงเวลาของประเพณีบุญบั้งไฟคือเดือนหกหรือพฤษภาคมของทุกปี

       ประเพณีบุญบั้งไฟมีมาแต่ครั้งไหนยังหาหลักฐานที่แน่ชัด มีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับความเป็นมาของประเพณีบุญบั้งไฟในแง่ต่างๆ ไว้ดังนี้
   
ความเชื่อของชาวบ้านกับประเพณีบุญบั้งไฟ
             ชาวบ้านเชื่อว่ามีโลกมนุษย์ โลกเทวดา และโลกเทวดา มนุษย์อยู่ใต้อิทธิพลของเทวดา การรำผีฟ้าเป็นตัวอย่างที่แสดงออกทางด้านการนับถือเทวดา และเรียกเทวดาว่า แถนเมื่อถือว่ามีแถนก็ถือว่า ฝน ฟ้า ลม เป็นอิทธิพลของแถน หากทำให้แถนโปรดปราน มนุษย์ก็จะมีความสุข ดังนั้นจึงมีพิธีบูชาแถน การจุดบั้งไฟก็อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แสดงความเคารพหรือส่งสัญญาณความภักดีไปยังแถน ชาวอีสานจำนวนมากเชื่อว่าการจุดบั้งไฟเป็นการขอฝนจากพญาแถน และมีนิทานปรัมปราเช่นนี้อยู่ทั่วไป แต่ความเชื่อนี้ยังไม่พบหลักฐานที่แน่นอน นอกจากนี้ในวรรณกรรมอีสานยังมีความเชื่ออย่างหนึ่งคือ เรื่องพญาคันคาก หรือคางคก พญาคันคากได้รบกับพญาแถนจนชนะแล้วให้พญาแถนบันดาลฝนลงมาตกยังโลกมนุษย์


ความหมายของบั้งไฟ
       คำว่า “บั้งไฟ ในภาษาถิ่นอีสานมักจะสับสนกับคำว่า บ้องไฟแต่ที่ถูกนั้นควรเรียกว่าบั้งไฟดังที่ เจริญชัย ดงไพโรจน์ ได้อธิบายความแตกต่างของคำทั้งสองไว้ว่า บั้งหมายถึง สิ่งที่เป็นกระบอก เช่น บั้งทิง สำหรับใส่น้ำดื่ม หรือบั้งข้าวหลาม เป็นต้น 



ประเพณีบุญบั้งไฟ

       จากพงศาวดารเมืองยโสธรได้บันทึกไว้ว่า เมื่อราวๆ ปี พ.ศ. 2340 พระเจ้าวรวงศา (พระวอ) เสนาบดีเก่าเมืองเวียงจันทน์กับสมัครพรรคพวกเดินทางอพยพจะไปอาศัยอยู่กับเจ้านครจำปาศักดิ์ เมื่อเดินทางถึงดงผีสิงห์เห็นเป็นทำเลดี จึงได้ตั้งหลักฐานและสร้างเมืองที่นี่เรียกว่า “บ้านสิงห์ท่า หรือ เมืองสิงห์ท่าต่อมาใน พ.ศ. 2357 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกฐานะบ้านสิงห์ท่าแห่งนี้ขึ้นเป็น “เมืองยโสธร ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ มีเจ้าเมืองดำรงบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทรราชวงศา ในปี พ.ศ. 2515 ได้ยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 70 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515 ได้แยกอำเภอยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว อำเภอเลิงนกทา และอำเภอกุดชุม ออกจากจังหวัดอุบลราชธานี และรวมกันเป็นจังหวัดยโสธร ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515

         จังหวัดยโสธรมีเนื้อที่ประมาณ 4,161 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดในเขตอีสานตอนล่าง จังหวัดยโสธรแบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ คือ อำเภอเมืองยโสธร คำเขื่อนแก้ว มหาชนะชัย ป่าติ้ว เลิงนกทา กุดชุม ค้อวัง ทรายมูล และไทยเจริญ

       บุญบั้งไฟ นิยมทำกันในเดือนหก ถือเป็นประเพณีสำคัญที่จะขาดไม่ได้ เพราะตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ชาวอีสานมีความเชื่อว่า ถ้าปีใดไม่จัดงานบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดความแห้งแล้ง ไม่มีน้ำทำนา แต่ถ้าปีใดจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะตกต้องตามฤดูกาล เกิดความอุดมสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัย งานบุญบั้งไฟจึงถือเป็นงานประเพณี ประจำปีที่สำคัญของชาวอีสาน พอใกล้ถึงวันงานชาวอีสานไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็จะกลับบ้านไปร่วมงานบุญบั้งไฟซึ่งเป็นงานที่สร้างความรักความสามัคคีของคนท้องถิ่นเป็นอย่างดี





     ข้าว
                    ข้าว เป็นพืชจำพวก ธัญพืช ที่สามารถกินเมล็ดได้ ถือเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ต้นข้าวมีลักษณะภายนอกบางอย่าง เช่น ใบ กาบใบ ลำต้น และรากคล้ายต้นหญ้า เป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกมากในทวีปเอเชีย โดนเรียกพื้นที่ปลูกว่า นาข้าว และผู้ที่ประกอบอาชีพปลูกข้าวเรียกว่า ชาวนา ในประเทศไทยข้าวหอมมะลิมีสายพันธุ์ในประเทศและเป็นที่นิยมไปทั่วโลก
                                                                                           

          ประเภทของข้าว
    

แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ข้าวเจ้า และ ข้าวเหนียว ซึ่งมีลักษณะเหมือนกันเกือบทุกอย่างแต่ต่างกันตรงที่เนื้อแข็งในเมล็ด
·     เมล็ดข้าวเจ้าประกอบด้วยแป้งอมิโลส (Amylose) ประมาณร้อยละ 15-30
·     เมล็ดข้าวเหนียวประกอบด้วยแป้งอมิโลเพคติน (Amylopectin) เป็นส่วนใหญ่และมีแป้งอมิโลส (Amylose) ประมาณร้อยละ 5-7


        หากแบ่งตามนิเวศน์การปลูก จะแบ่งได้ 6 ประเภท คือ
1.   ข้าวนาสวน    ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำขังหรือกักเก็บน้ำได้ระดับน้ำลึกไม่เกิน 50 เซนติเมตร ข้าวนาสวนมีปลูกทุกภาคของประเทศไทย แบ่งออกเป็น ข้าวนาสวนนาน้ำฝน และข้าวนาสวนนาชลประทาน
2.    ข้าวนาสวนนาน้ำฝน     ข้าวที่ปลูกในฤดูนาปี และอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ การกระจายตัวของฝน ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวนาน้ำฝนประมาณ 70% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด
3.    ข้าวนาสวนนาชลประทาน    ข้าวที่ปลูกได้ตลอดทั้งปีในนาที่สามารถควบคุมระดับน้ำได้ โดยอาศัยน้ำจากการชลประทาน ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวนาชลประทาน 24% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด และพื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคกลาง
4.     ข้าวขึ้นน้ำ    ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำท่วมขังในระหว่างการเจริญเติบโตของข้าว มีระดับน้ำลึกตั้งแต่ 1-5 เมตร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน ลักษณะพิเศษของข้าวขึ้นน้ำคือ มีความสามารถในการยืดปล้อง (internode elongation ability) การแตกแขนงและรากที่ข้อเหนือผิวดิน (upper nodal tillering and rooting ability) และการชูรวง    (kneeing ability)
5.    ข้าวน้ำลึก     ข้าวที่ปลูกในพื้นที่น้ำลึก ระดับน้ำในนามากกว่า 50 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 100 เซนติเมตร
ธงของประเทศบราซิล
6.     ข้าวไร่ ข้าวที่ปลูกในที่ดอนหรือในสภาพไร่     บริเวณไหล่เขาหรือพื้นที่ซึ่งไม่มีน้ำขัง  ไม่มีการทำคันนาเพื่อกัก


ธงชาติของไทยธงของประเทศบราซิล
ธงของสหภาพเมียนมาร์ธงของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามธงของประเทศบังกลาเทศธงของประเทศอินโดนีเซีย7ธงของประเทศญี่ปุ่น



ปฏิทินกิจกรรมในการทำนา (นาปี-ภาคอีสาน)

       การทำนา : ปฏิทินกิจกรรมในการทำนา (นาปี-ภาคอีสาน)
                       มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา เหมือนการลากเส้นเริ่มต้นจากจุดๆ หนึ่งไปยังจุดอีกจุดหนึ่งไปเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาก็กลับไปยังจุดเริ่มต้นอีกครั้ง สุดท้ายก็กลับมาแนวคิดเดิมเราเริ่มจากจุดไหน อย่างเช่นจุดเริ่มต้นรากเหง้าเราเป็นชาวนา สุดท้ายแนวความคิดก็จะกลับมาจุดเริ่มต้นนั้นอีกครั้ง และอีกครั้ง แต่รากเหง้าเราสมัยก่อนใช้ควายเป็นเครื่องมือในการช่วยทำนา (อิอิ แอบบอกอายุ) แต่เกษตรรุ่นใหม่อย่างเรา (ไม่เกี่ยวกับอายุนะ) ถือว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ทำงานที่เป็นหลักวิชาการแล้ว วิถีการทำนาก็จะมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำนาให้เหมาะสมกับเงื่อนไขทางสังคมและสถานภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป คำถามคือจะเริ่มยังไงล่ะ สมัยก่อน รุ่นพ่อแม่เราเรียนรู้จากการลงมือทำ แต่สำหรับเราเรียนและทำงานออฟฟิศมาตลอด จะทำเป็นไหม หาทางลัดก็ลงมือศึกษาสิคะ จากผู้มีประสบการณ์ อบรมฟรีด้วย แนะนำเลยค่ะ ที่นี่เลย สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรงข้ามโรงพยาบาลนวนคร รังสิต
ธงของประเทศบราซิลธงชาติของไทย

ธงของประเทศญี่ปุ่นธงของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามธงของประเทศบังกลาเทศธงของประเทศอินโดนีเซีย          เกริ่นมาตั้งนานเข้าเรื่องเลยดีกว่า ก่อนเราจะเริ่มกิจกรรมหรือวางแผนอะไรเราต้องจัดปฏิทินกิจกรรมการทำงานก่อนใช่ไหมคะ มาดูปฏิทินกิจกรรมในการทำนา ยกตัวอย่าง นาปี ภาคอีสานมานะคะ

เดือน
กิจกรรม
มกราคม ถึง มีนาคม
-ไถกลบฟาง หว่านปุ๋ยพืชสดหลังทำนา (ถั่วพร้า) ในเดือนมกราคมแล้วไถดะ (ไถกลบ) ในเดือนมีนาคม ถึง เมษายน เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ในปีต่อไป
เมษายน
-การเตรียมพันธุ์ / การคัดเลือกพันธุ์ โดยวิธีการเตรียมพันธุ์ เลือกจากลักษณะรวงใหญ่ รวงกัมเพราะหนัก เมล็ดสมบูรณ์เต็ม แล้วแยกพันธุ์ ตากผึ่งแดด ใส่กระสอบมัดมิดชิดแขวนไว้ที่ร่ม-เตรียมปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อบำรุงดิน และเตรียมดิน
พฤษภาคม
-การเตรียมดิน โดยการไถฮุด / ไถดะ ครั้งที่ 1 เพื่อให้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยพืชสดย่อยสลายไป ทิ้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์
มิถุนายน
-การตกกล้า (สำหรับการทำนาดำ)-ไถเตรียมแปลง ไถกลบครั้งที่ 2 ช่วงเดียวกับการตกกล้าเพื่อทำให้ดินแตกละเอียด ร่วนขึ้น-การบันทึกแผนผัง แปลงตกกล้าและแปลงปักดำ และติดป้ายชื่อพันธุ์ข้าวแต่ละสายพันธุ์
กรกฎาคม
-เมื่อกล้าอายุประมาณ 1 เดือน ในเดือนกรกฏาคม ทำการไถแปร (ไถสวนทางเดิม) พร้อมกับใส่ปุ๋ยชีวภาพ แล้วไถคราดให้พื้นที่เสมอระดับกัน สูบน้ำเข้านาพอประมาณ พอให้ดินเป็นตม (โคลน)-การถอนกล้า ปักดำ (โดยการปักดำเป็นแถวเป็นแนว)
สิงหาคม ถึง ตุลาคม
-การดูแลหลังการปักดำ-การออกตอก-การออกรวง-การเก็บเกี่ยว-สังเกตความชื้นในแปลง โดยการควบคุมระดับน้ำในแปลง-สังเกตและกำจัดศัตรูพืช กำจัดวัชพืชที่ทำลายต้นข้าว เช่น ปู หอย และ กำจัดวัชพืช จำพวกหญ้าต่างๆ เช่น หญ้าไข่เขียด ผักอีฮิน หญ้าโสน เป็นต้น-การตัดข้าวปน โดยถอนข้าวปนที่ขึ้นนอกแถว-การบันทึกการเจริญเติบโตของพันธุ์ข้าว จดบันทึกคุณลักษณะประจำพันธุ์ข้าวแต่ละสายพันธุ์
ตุลาคม
-บันทึกการออกรวงข้าว บันทึกการเจริญเติบโตของข้าวกลางและข้าวหนัก-เก็บเกี่ยวข้าวเบา
พฤศจิกายน ถึง ธันวาคม
-ทำการจดบันทึกพันธุ์ข้าวกลาง และข้าวหนักที่ทยอยออกดอกออกรวงไปตามลำดับ-เก็บเกี่ยวข้าวกลางและข้าวหนัก-นวดข้าว เก็บข้าว


                                                        การปลูกข้าวทางเลือกใหม่

การปลูกข้าวโดยวิธีการโยนกล้า (parachute)

           

    การพัฒนาการทำนา โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมได้อย่างเหมาะสม ทำให้การทำนาในเขตชลประทานได้ผลผลิตสูงกว่าในเขตนาน้ำฝนของประเทศ และสามารถผลิตข้าวได้มากกว่าปีละ 1 ครั้ง เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าวโดยวิธีการหว่านน้ำตม ใช้พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง อายุสั้น เก็บเกี่ยวข้าวด้วยเครื่องเกี่ยวนวด ดยเฉพาะพื้นที่นาชลประทานในภาคกลาง ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์สูง ซึ่งปัจจุบันราคาเมล็ดพันธุ์กิโลกรัมละ 20-23 บาท และเมล็ดพันธุ์ดีก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้การทำนาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็น 2 ปี 5 ครั้ง หรือ ปีละ 3 ครั้ง ย่อมส่งผลกระทบถึงสภาพแวดล้อม เช่น ปัจจุบันการทำนาในภาคกลางประสบกับ ปัญหาข้าววัชพืช ระบาดอย่างรุนแรง เกษตรกรที่ทำนาแบบหว่านน้ำตม ส่วนหนึ่งเปลี่ยนวิธีการทำนาเป็นการปักดำด้วยเครื่องปักดำเพื่อควบคุมปริมาณข้าววัชพืช ปัญหาที่ตามมาก็คือ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่สามารถเตรียมดินให้เหมาะสมกับการทำงานของเครื่องปักดำได้ และอัตราค่าปักดำค่อนข้างสูงคือ ไร่ละ 1,100-1,200 บาท (รวมเมล็ดพันธุ์ข้าว) วิธีการปลูกข้าวแบบโยนกล้า เป็นการทำนาแบบใหม่ที่สามารถนำมาใช้แทนการปักดำด้วยเครื่องได้

แนะนำให้เป็นทางเลือกในพื้นที่

    1. พื้นที่ปัญหาข้าววัชพืชมาก
    2. ผลิตในศูนย์ข้าวชุมชนหรือไว้ใช้เองได้
    3. ผลิตข้าวอินทรีย์ เพื่อควบคุมข้าววัชพืช
    4. ประหยัดเมล็ดพันธุ์

         เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าแต่ได้ผลผลิตไม่ตกต่างจากการปักดำด้วยเครื่องหรือการหว่านน้ำตม แต่สามารถควบคุมวัชพืช โดยเฉพาะข้าววัชพืช ที่กำลังระบาดอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่ในภาคกลาง

ตาราง เปรียบเทียบต้นทุน (บาท/ไร่) ของการปลูกข้าวปทุมธาน ี1 ด้วยวิธีการปลูกแบบต่างๆ
(ไม่รวมค่าสารเคมีป้องกันกำจัดโรค แมลง และน้ำมันสูบน้ำเข้านา) /ปรับปรุงจาก นิตยาและคณะ, (2549) 


ขั้นตอนการทำนา 
หว่านน้ำตม 
นาดำ 
โยนกล้า 
1. เตรียมดิน 
610
610
610
2. เมล็ดพันธุ์ 
345
138
92
3. ตกกล้า 
300
300
4. หว่าน (ปักดำ โยนกล้า) 
40
672
50
5. ปุ๋ย 
948
948
948
6.สารเคมีคุมวัชพืช 
200
7. เก็บเกี่ยว 
600
600
600
8. รวมต้นทุน 
2,743
3,268
2,600
9. ผลผลิต 
775
875
880



การตกกล้า
      ตกกล้าในกระบะเพาะกล้าที่มีลักษณะเป็นหลุม ตามลำดับดังนี้

1. ใส่ดินในหลุมประมาณ ครึ่งหนึ่งของหลุม


2. หว่านเมล็ดข้างงอกลงในหลุมโดยใช้อัตรา 3-4 กก./ 60-70 ถาด/ไร่


3. ใส่ดินปิดเมล็ดพันธุ์ข้าว ระวังอย่าให้ดินล้นออกมานอกหลุม
เพราะจะทำให้รากข้าวที่งอกออกมาพันกัน เวลาหว่านต้นข้าวจะไม่กระจายตัว


4. หาวัสดุ เช่นกระสอบป่าน คลุมถาดเพาะ เพื่อเวลารดน้ำจะได้ไม่กระเด็น
รดน้ำเช้า เย็น ประมาณ 3-4 วัน ต้นข้าวจะงอกทะลุกระสอบป่าน ให้เอากระสอบป่านออก แล้วรดน้ำต่อไป จนกล้าอายุ 15 วัน


5. นำกล้าที่ได้ไปหว่านในแปลงที่เตรียมไว้ ให้สม่ำเสมอ การตกกล้า 1 คน สามารถตกได้ 2 ไร่ (140 กระบะ) /วัน


การเตรียมแปลง
        ไถดะครั้งที่ 1 หลังเก็บเกี่ยวข้าวปล่อยแปลงให้แห้งประมาณ 15-30 วัน แล้วปล่อยน้ำเข้าพอให้ดินชุ่มประมาณ 5-10 วัน เพื่อให้วัชพืชและเมล็ดข้าวที่ร่วงหล่นในดินงอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อนเสียก่อนจึงไถดะครั้งที่

        ไถแปร หลังจากการไถดะครั้งที่ 1 แล้ว ปล่อยทิ้งไว้ 10-15 วันโดยรักษาระดับน้ำเพียงแค่ดินชุ่ม เพื่อให้เมล็ดวัชพืชและเมล็ดข้าวที่หลงเหลืออยู่งอกขึ้นมาอีกแล้วจึงไถแปร

        คราดหรือทุบ หลังจากการไถแปรครั้งที่ 2 แล้ว ปล่อยทิ้งไว้ 10-15 วันโดยรักษาระดับน้ำเพียงแค่ดินชุ่ม เพื่อให้เมล็ดวัชพืชและเมล็ดข้าวที่หลงเหลืออยู่งอกขึ้นมาอีกแล้วคราดหรือทุบจะช่วยทำลายวัชพืชได้มาก หรือหลังจากไถดะ ไถแปรและคราดเสร็จแล้วเอาน้ำขังแช่ไว้ประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อให้ลูกหญ้าที่เป็นวัชพืชน้ำ เช่น ผักตบ ขาเขียด ทรงกระเทียม ผักปอดและพวกกกเล็ก เป็นต้น งอกขึ้นเสียก่อน เพราะเมล็ดวัชพืชปกติจะงอกภายใน 5-7 วันหลังจากน้ำนิ่งโดยเฉพาะนาที่น้ำใส เมื่อลูกหญ้าขึ้นแล้วจึงคราดให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ลูกหญ้าก็จะหลุดลอยไปติดคันนาทางใต้ลม ก็จะสามารถช้อนออกได้หมด เป็นการทำลายวัชพืชวิธีหนึ่ง

        สำหรับผู้ที่ใช้ลูกทุบหรืออีขลุก ย่ำฟางข้าวให้จมลงในดินแทนการไถ หลังจากย่ำแล้วควรจะเอาน้ำแช่ไว้ให้ฟางเน่าเปื่อยจนหมดความร้อนเสียก่อนอย่างน้อย 3 สัปดาห์แล้วจึงย่ำใหม่ เพราะแก๊สที่เกิดจากการเน่าเปื่อยของฟางจะเป็นอันตรายต่อต้นข้าวจะทำให้รากข้าวดำไม่สามารถจะหาอาหารได้

        ระบายน้ำออกเพื่อปรับเทือก ปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ เมื่อคราดแล้วจึงระบายน้ำออกและปรับเทือกให้สม่ำเสมอ กระทำได้ด้วยการใช้น้ำในนาเป็นเครื่องวัด โดยให้น้ำในนามีระดับเพียงตื้นๆ ขนาดเพียงท่วมหลังปูก็จะเห็นว่าพื้นที่นาราบเรียบเพียงใดอย่างชัดเจน เมื่อเห็นว่าส่วนใดยังไม่สม่ำเสมอก็ควรจะปรับเสียใหม่ การปรับพื้นที่นาหรือปรับเทือกให้สม่ำเสมอจะทำให้ควบคุมน้ำได้สะดวก

        การโยนกล้า ให้มีน้ำในแปลงประมาณ 1 ซม. นำกระบะกล้าข้าวที่มีอายุ 15 วัน ไปวางรายในแปลงที่เตรียมไว้ให้กระจายสม่ำเสมอ อัตรา 60-70 กระบะต่อไร่ จากนั้นคนที่จะโยนกล้าจะหยิบกระบะกล้ามาวางพาดบนแขน แล้วใช้มือหยิบกล้าข้าวหว่านหรือโยนในแปลง โดยโยนให้สูงกว่าศรีษะ ต้นกล้าจะพุ่งลงโดยใช้ส่วนรากที่มีดินติดอยู่ลงดินก่อน การหว่านกล้า 1 คน สามารถหว่านได้วันละ 4- 5 ไร่



จับต้นกล้า 5 - 15 หลุม



โยนตวัดมือขี้นหนือศีรษะ ต้นกล้าจะพุ่งดิ่งลง

เกษตรกรช่วยกันโยนกล้า/หว่านต้นกล้า

        การดูแลรักษาระดับน้ำ วันหว่านกล้าให้มีน้ำในแปลงประมาณ 1 ซม. (ท่วมหลังปู) หลังจากนั้นประมาณ 3 วัน ต้นข้าวตั้งตัวได้แล้ว สามารถเพิ่มระดับน้ำให้อยู่ที่ระดับครึ่งหนึ่งของต้นข้าว หรือประมาณ 5 ซม. เพื่อการควบคุมวัชพืช

ต้นกล้าหลังหว่าน 7 วัน

การแตกกอของข้าวที่ปลูกด้วยวิธีการโยนกล้า



        การเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวข้าวที่ระยะที่เหมาะสม คือหลังจากข้าวออกดอก (75 %) แล้ว 28-30 วัน จะมีความชื้นประมาณ 22 %  กรณีไม่ถูกฝนช่วงเก็บเกี่ยว  ซึ่งจะเกิดความสูญเสียทั้งด้านปริมาณและคุณภาพน้อยที่สุด  จะทำให้ได้ข้าวที่มีน้ำหนักดีที่สุด มีการร่วงหล่นและสูญเสียขณะเก็บเกี่ยวน้อยที่สุด ผลผลิตมีคุณภาพดี ข้าวที่เก็บไว้สีเป็นข้าวมีคุณภาพการสีสูง  ข้าวที่เก็บไว้เป็นเมล็ดพันธุ์สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานอย่างน้อย 7-9 เดือน เสื่อมความงอกช้า 
ข้อได้เปรียบของวิธีการโยนกล้าเปรียบเทียบกับการปักดำและหว่านน้ำตม
       1. แปลงที่มีลักษณะหล่มก็สามารถเตรียมแปลงเพื่อการหว่านต้นกล้าได้ แต่ไม่สามารถปลูกโดยวิธีการปักดำด้วยเครื่องปักดำได้ เนื่องจากเครื่องจะติดหล่ม
       2. ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์น้อยกว่าการหว่านน้ำตมและการปักดำ
       3. สามารถควบคุมและลดปริมาณวัชพืชและข้าววัชพืชได้ดีกว่าการทำนาหว่านน้ำตม
       4. ลดการสารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวเมื่อเทียบกับการหว่านน้ำตม

ธงชาติของไทย
ธงของประเทศญี่ปุ่นธงของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามธงของประเทศบังกลาเทศธงของประเทศอินโดนีเซีย7ธงของประเทศบราซิล
สมมาตร ทองใบ : คัดลอกและเรียบเรียง / เอกสารคำแนะนำ การปลูกข้าวด้วยวิธีโยนกล้า สำนักส่งเสริมการผลิตข้าว กรมการข้าว (2551)



การทำนาขั้นบันได 
            การทำนาขั้นบันได เป็นการทำนาบนพื้นที่สูง โดยการขุดปรับพื้นที่สภาพไร่ซึ่งเคยใช้ปลูกข้าวไร่หรือพืชไร่อื่นๆ ปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่นา ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการลดปัญหาการทำไร่เลื่อนลอย ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าว และสร้างความมั่นคงทางอาหารบนพื้นที่สูงในประเทศไทยจะนิยมทำนาขั้นบันไดในบริเวณภาคเหนือ  เพราะมีลักษณะภูมิประเทศเหมาะสม








 1. การคัดเลือกพื้นที่
            ควรพิจารณาเลือกพื้นที่ที่ไม่มีความลาดชันมากนัก เนื่องจากการขุดปรับพื้นที่ทำได้ค่อนข้างยากและจะได้พื้นที่ปลูกข้าวในกระทงนาที่แคบ   การทำงานได้ไม่สะดวก  และควรเลือกพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ สามารถทำระบบส่งน้ำมายังแปลงนาได้  หรือจัดหาน้ำมายังแปลงนาได้ในอนาคต 


2. การขุดปรับพื้นที่นาขั้นบันได
            การขุดปรับพื้นที่นาขั้นบันไดสามารถทำได้โดยใช้แรงงานคน หรือใช้เครื่องจักรกล แต่ในบางพื้นที่อาจมีข้อจำกัดในการใช้เครื่องจักรกลเนื่องจากไม่มีถนนเข้าสู่พื้นที่   การใช้แรงงานคนเป็นวิธีการที่เหมาะสมในหลายพื้นที่และเจ้าของนามีความภาคภูมิใจผลงานที่ตนได้ดำเนินการเอง  รวมทั้งมีความเอาใจใส่ที่จะบำรุงรักษาเมื่อเกิดการชำรุด  การขุดปรับพื้นที่นาสามารถทำได้  2  วิธี  คือ
                2.1.การขุดดินจากล่างขึ้นบน  เป็นการขุดดินจากขอบแปลงด้านล่างขึ้นไปทำเป็นคันนาเหนือจุดที่ขุดดิน พร้อมทั้งปรับแปลงให้มีความสม่ำเสมอ การขุดปรับพื้นที่นาแบบนี้มีข้อดีคือโครงสร้างของดินในแปลงนาจะถูกรบกวนน้อย หน้าดินจะไม่ถูกเคลื่อนย้ายจึงทำให้ยังรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินเดิมไว้ได้ สามารถทำให้น้ำขังในแปลงนาได้เร็วขึ้น
                 2.2. การขุดดินจากบนลงล่าง  เป็นการขุดดินจากส่วนบนของแปลงที่สูงกว่ามาถมส่วนล่างของแปลงที่ต่ำกว่าเพื่อปรับให้แปลงนามีความสม่ำเสมอ  การขุดปรับพื้นที่นาโดยวิธีนี้สามารถทำได้ง่ายเกษตรกรส่วนใหญ่คุ้นเคย  และสามารถใช้เครื่องจักรกลได้  แต่การขุดปรับพื้นที่นาโดยวิธีนี้มีข้อจำกัดคือ   หน้าดินส่วนบนของแปลงนาจะถูกตัดออกไปเหลือแต่ดินชั้นล่างความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ จึงทำให้การเจริญเติบโตของข้าวในระยะแรกไม่ค่อยดี ส่วนหน้าดินที่ตัดออกไปจะถูกนำไปถมในส่วนล่างของแปลงนาและปรับเป็นคันนา จึงทำให้ข้าวที่ปลูกในพื้นที่ส่วนล่างเจริญเติบโตได้ดีกว่า   การแก้ปัญหาสามารถทำได้โดยการขุดเอาดินชั้นบนของกระทงนาที่อยู่เหนือขึ้นไปนำไปใส่แปลงนาที่อยู่ด้านล่างปรับระดับให้สม่ำเสมอ  การปรับพื้นที่ในแปลงนาให้สม่ำเสมอทำได้โดยการปล่อยน้ำเข้าในแปลงแล้วปรับพื้นที่ให้น้ำท่วมพื้นที่ในแปลงให้สม่ำเสมอกัน  หรือถ้าไม่สามารถปล่อยน้ำเข้าแปลงได้ก็ใช้การสังเกตและค่อยๆปรับระดับให้สม่ำเสมอ


3. การปรับปรุงบำรุงดิน 
            นาขั้นบันไดหลังจากปรับพื้นที่เสร็จใหม่ๆความอุดมสมบูรณ์ของดินในแปลงจะไม่สม่ำเสมอ โครงสร้างของดินยังไม่เหมาะสมในการทำนา  ดังนั้นจะต้องปรับปรุงบำรุงดินโดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ โดยการใส่ปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยคอก หรือการปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด  นอกจากนี้จะต้องมีการปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดิน และเพิ่มเติมธาตุอาหาร เช่น ฟอสฟอรัส  และโพแทสเซียม  ตามค่าการวิเคราะห์ดิน


4. การปลูกข้าว 
            ในปีแรกๆของการขุดปรับพื้นที่เป็นนาขั้นบันได  บางพื้นที่ไม่สามารถขังน้ำได้จึงต้องปลูกข้าวไร่โดยการหยอดเป็นหลุม แต่ในพื้นที่ที่สามารถปรับและขังน้ำได้ก็สามารถปลูกข้าวโดยวิธีปักดำ  แต่ควรใช้ระยะปักดำให้ถี่ขึ้นเนื่องจากข้าวจะแตกกอน้อย โดยอาจใช้ระยะปักดำ  20 x 20  ซม.  จำนวนกล้า  3-5 ต้นต่อจับ


5. การใส่ปุ๋ย
            นาขั้นบันไดบนพื้นที่สูงควรเน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เนื่องจากจะช่วยลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรโดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ซึ่งสามารถหาได้ในท้องถิ่น หรือเกษตรกรสามารถผลิตเองได้  เช่น ปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด เป็นต้น  ในกรณีที่ไม่เพียงพออาจใช้ปุ๋ยเคมีเสริมเท่าที่จำเป็น


      6. การให้น้ำ
            เพื่อลดปัญหาน้ำไม่เพียงพอ และกระจายน้ำให้กับเกษตรกรได้อย่างทั่วถึง การบริหารจัดการน้ำโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน(ระบบแก่เหมือง) จะทำให้การทำนาขั้นบันไดมีประสิทธิภาพมากขึ้น


      7. การป้องกันกำจัดโรค และแมลง
            ข้าวนาขั้นบันไดส่วนมากใช้พันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่มีความต้านทานต่อโรคในท้องถิ่น  แต่ปัจจุบันมีการระบาดของแมลงบางชนิดได้แก่ เพลี้ยอ่อนในดิน  เพลี้ยกระโดดหลังขาว และแมลงบั่ว  ซึ่งจะต้องมีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูต่างๆ ตามคำแนะนำ และเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ด้วย

      8.การควบคุมวัชพืช
            การขังน้ำในแปลงนาสามารถลดปัญหาวัชพืชได้ระดับหนึ่ง ถ้าหากยังมีวัชพืชก็ใช้แรงงานคนถอน  แต่ในแปลงนาที่ไม่สามารถขังน้ำได้วัชพืชเป็นปัญหาสำคัญในการปลูกข้าว  ดังนั้นการเตรียมดินโดยการไถพรวน  การขุดพรวนดินในระยะแรกของการเตรียมดินจะช่วยลดปัญหาวัชพืช  แต่หลังจากปลูกข้าวแล้วจะต้องกำจัดวัชพืชอย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรกหลังข้าวงอก  20 – 25 วัน  และอีกครั้งหนึ่งหลังข้าวงอก  40- 45 วัน  ถ้าพบว่ายังมีวัชพืชรุนแรงอาจกำจัดวัชพืชอีกครั้งหนึ่งได้



การทำนาแบบขั้นบันได



โรคและศัตรูข้าว


โรคข้าว
          โรคข้าวที่ระบาดทำลายต้นข้าวจนเสียหายนั้น เกิดจากเชื้อโรคหลายชนิด เช่น เชื้อรา เชื้อบักเตรี และเชื้อไวรัส นอกจากนี้ไส้เดือนฝอย ซึ่งมีขนาดเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ก็สามารถทำให้ต้นข้าวเกิดเป็นโรคได้ด้วย เพราะฉะนั้น โรคข้าวที่สำคัญๆ จะแบ่งออกได้เป็นพวกๆ ดังนี้ 


โรคที่เกิดจากเชื้อรา

โรคที่สำคัญ ได้แก่ โรคไหม้ โรคถอดฝักดาบ โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคดอกกระถิน

๑. โรคไหม้ (blast disease)

โรคไหม้
         
             โรคนี้ระบาดทั่วไป ในทุกภาคของประเทศไทย เกิดจากเชื้อราชื่อ ไพริคูลาเรีย ออไรซี (Pyricularia oryzae) ซึ่งเมล็ดสืบพันธุ์ (conidia) ของเชื้อรานี้ แพร่กระจายไปได้โดยปลิว ไปกับลม ฉะนั้น โรคไหม้จึงแพร่กระจายไปโดยลม เมื่อเมล็ดสืบพันธุ์ของเชื้อราตกลงบนส่วนต่างๆ ของต้นข้าวที่มีความชื้นสูง มันก็จะงอกเป็นเส้นใยเข้าทำลาย ต้นข้าว ปกติโรคนี้จะทำให้ใบของต้นกล้าเกิดเป็นแผล รูปกลมหรือคล้ายรูปตาของคน เป็นสีเทา และบางครั้ง จะมีขอบของแผลเป็นสีน้ำตาลด้วย เมื่อใบข้าวถูกเชื้อโรค เข้าทำลายอย่างรุนแรง แต่ละใบก็จะมีแผลโรคเป็นจำนวน มาก แล้วทำให้ใบข้าวแห้งตาย ถ้าใบข้าวจำนวนมาก แห้งตายไปเพราะโรค ในที่สุดก็จะทำให้ต้นกล้าแห้งตายไปด้วย นอกจากนี้ เชื้อรายังสามารถทำให้คอรวงข้าวเน่าเป็นสีน้ำตาลแก่ ทำให้เมล็ดลีบ ดังนั้น เชื้อรานี้สามารถทำให้ต้นข้าวเป็นโรคตั้งแต่ระยะ ต้นกล้าจนถึงออกรวง สำหรับประเทศไทย โรคนี้ รุนแรงมากในฤดูฝน ในระยะที่ต้นข้าวเป็นต้นกล้าและ กำลังออกรวง ความรุนแรงของโรคจะมีมากยิ่งขึ้น ถ้าชาวนาปลูกข้าวด้วยพันธุ์ที่ไม่มีความต้านทานโรค และใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราสูงลงในดินนา

    การป้องกันและกำจัด มีหลายวิธีด้วยกันดังนี้
          ๑) ปลูกด้วยพันธุ์ข้าวที่มีความต้านทานโรคไหม้ เช่น พันธุ์หางยี ๗๑ กข.๖ กข. ๗ กข.๘ กข.๑๓
         ๒) ทำการตกกล้าในแปลงขนาดกว้าง ๕๐ เซนติเมตร และความยาวของแปลงขนานไปกับทิศทางลม ทั้งนี้เพื่อลดความชื้นระหว่างต้นข้าว
         ๓) ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราที่ไม่สูงเกินไป ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับระดับความต้านทานของพันธุ์ข้าว

        ๔) ใช้สารเคมีพ่นลงบนต้นข้าว เช่น คาซูมิน (kasumin) เบนเลต (benlate) ฮิโนแซน (hinosan) ทำการพ่นทุกๆ ๗ วัน เป็นจำนวน ๒ ครั้งก็เพียงพอ


โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย

    โรคที่สำคัญได้แก่ โรครากปม
๑. โรครากปม (root knot disease)

           โรคนี้เกิด จากไส้เดือนชื่อ เมลอยโดไกเน เกรมินิโคลา (Meloidogyne greminicola) ไส้เดือนฝอยนี้ สามารถทำ ให้รากของต้นข้าวในระยะต้นกล้าและระยะแตกกอเกิด มีปมขนาดเล็กจำนวนมาก ใบสีเหลืองซีด แคระแกร็น แตกกอน้อย ไส้เดือนฝอยนี้จะระบาดรุนแรงมากในพื้นที่ ที่เป็นดินร่วนทรายไม่มีน้ำขัง โดยเฉพาะในท้องที่ภาค เหนือและภาคกลางตอนเหนือที่มีการปลูกพืชไร่ เช่น ยาสูบ ไส้เดือนฝอยอาศัยอยู่ในดินได้เป็นเวลานาน เพราะมันสามารถอาศัยอยู่ในพืชหลายชนิด

การป้องกันและกำจัด
๑) ใช้สารเคมีฉีดหรืออบลงไปในดิน เพื่อฆ่า ไส้เดือนฝอยในดิน
๒) ไม่ปล่อยให้ดินนาในระยะปลูกข้าวขาดน้ำ
๓) ไขน้ำให้ท่วมดินนาระยะหนึ่ง เพื่อจะได้ทำลาย ไส้เดือนฝอย
๔) ใช้พันธุ์ต้านทาน เช่น ขาวดอกมะลิ ๑๐๕ กข.๖ กข.๑๕


แมลงศัตรูข้าว

            แมลงศัตรูข้าวมีหลายชนิด แต่ชนิดที่สำคัญ และระบาดเสมอๆ ได้แก่  เพลี้ยไฟ หนอนกระทู้กล้า เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว แมลงบั่ว หนอนกอ หนอนม้วนใบ แมลงสิง และหนอนกระทู้คอรวง

๑. เพลี้ยไฟ (rice thrips)

ลักษณะข้าวที่ถูกเพลี้ยไฟทำลาย
      
              มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ทริพส์ ออไรซี (Thrips oryzae) เป็นแมลงที่มีปากแทง ดูดและชอบดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นกล้าข้าว โดยเฉพาะ ตรงส่วนที่เป็นสีเขียว เพราะมีคลอโรฟีลล์ ระบาดรุน แรงมากเมื่อมีอากาศแห้งแล้ง ฝนตกน้อย ข้าวที่ถูกเพลี้ย ไฟทำลายจะมีใบเหลืองเจริญเติบโตช้า ต้นข้าวแคระ แกร็น แล้วแผ่นใบค่อยๆ ม้วนตามความยาวเข้าหาส่วน กลางของใบ ต่อจากนั้นปลายใบก็จะแห้ง ซึ่งในระยะนี้ ตัวเพลี้ยไฟจะอาศัยอยู่ในรอยม้วนของใบ ต้นกล้าที่ถูก ทำลายมากๆ จะตายในที่สุด ส่วนต้นข้าวที่โตแล้วหรือ หลังปักดำจะไม่ได้รับความเสียหายจากเพลี้ยไฟ ยก เว้นบางกรณีในระยะออกดอก เพลี้ยไฟอาจเข้าไปดูด กินน้ำเลี้ยงในดอก จนทำให้เมล็ดลีบเป็นจำนวนมาก

การป้องกันและกำจัด
๑) สุมไฟด้วยฟางข้าวไว้ด้านเหนือของแปลงกล้า แล้วโรยผงกำมะถันลงบนกองไฟนั้น อากาศที่เกิดจาก กองไฟจะเป็นพิษทำลายเพลี้ยไฟ
๒) ใช้ยาฆ่าแมลงผสมน้ำพ่นลงบนต้นกล้า ยาที่ ใช้ได้ผล เช่น มาลาไทออน (malathion) ๕๗%

๒. หนอนกระทู้กล้า (rice seeding armyworm)

ตัวหนอนของหนอนกระทู้กล้า

              มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า สะโปดอพเทอรา มอริเทีย (Spodoptera mauritia) เป็นแมลงที่ใช้ปากกัดและทำลาย ต้นข้าวในระยะที่เป็นตัวหนอนเท่านั้น ตัวแก่ของมันมี ลักษณะคล้ายผีเสื้อ ตัวหนอนจะเข้าทำลายต้นกล้าโดย ใช้ปากกัดกินใบในระยะที่ต้นกล้ามีอายุประมาณ ๒๕- ๓๐ วัน ปกติตัวหนอนจะออกมากัดกินใบต้นกล้าข้าว ในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันมันจะหลบซ่อนอยู่ตาม คันนาหรือโคนต้นกล้าข้าว ต้นกล้าข้าวที่ถูกทำลายจะ ไม่มีแผ่นใบเหลืออยู่เลย ลักษณะคล้ายๆ ถูกควายหรือวัวกิน ต้นข้าวหลังจากปักดำแล้ว จะไม่ได้รับความ เสียหายจากหนอนกระทู้กล้า

การป้องกันและกำจัด
๑) ระบายน้ำเข้าแปลงกล้าจนท่วมยอดของต้น กล้า แล้วเก็บเอาตัวหนอนไปทำลาย
๒)เอาต้นหญ้าหรือฟางข้าวมากองไว้บนคันนา เพื่อล่อให้ตัวหนอนเข้าไปอาศัยในเวลากลางวัน ในเวลา บ่ายเก็บเอาตัวหนอนออกมาทำลาย
๓) ใช้เหยื่อพิษที่มีส่วนผสมของสารหนูเขียวครึ่ง ลิตร รำข้าว ๑๐๐ ลิตร น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำตาล ปีบและน้ำผสมกันพอชื้นๆ แล้วหว่านลงบนคันนา เมื่อ หนอนกินเข้าไปแล้วเกิดเป็นพิษตาย
๔) ใช้สารเคมีผสมน้ำพ่นลงบนแปลงกล้า เช่น เซวีน ๘๕% หรือมาลาไทออน ๕๗% ใช้น้ำยาพ่น ประมาณ ๔๐-๕๐ ลิตร/ไร่


                   การทำนาในปัจจุบันอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้มีอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกและรวดเร็วไปตามยุคตามสมัยความเจริญของเทคโนโลยี  แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือการที่คนไทยไม่ลืมรากเหง่าและอาชีพที่เลี้ยงปากท้องของคนไทยทั้งประเทศมาตั้งแต่นมนานเพระาอาชีพชาวนานับได้ว่าเป็น "กระดูกสันหลังของชาติ" ก็ว่าได้  เราควรช่วยกันรักษาอาชีพการทำนาของคนไทยไว้แบบนี้ตลอด